7 คำถามวิเคราะห์ว่า Business Model ของคุณเป็นอย่างไร

Business Model

ผมมีโอกาสได้เข้าร่วมงาน Inno Meetup: Business Model Workshop by Alex Osterwalder ที่จัดโดย SCG

หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักคุณ Alex แต่คิดว่าหลายคนคงเคยได้ยินและรู้เกี่ยวกับ Business Model Canvas เพราะเขาคนนี้เป็นคนคิดค้นแนวคิดนี้ขึ้นมาเพื่อสื่อสารให้คนเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจให้ชัดมากขึ้น เข้าใจง่าย และสามารถพัฒนาต่อยอดไปได้ โดยหนังสือของเขาได้ตีพิมพ์หลายล้านเล่ม และแปลเป็นภาษามากกว่า 30 ภาษา

ในตอนแรกนี้ผมจะขอเริ่มที่ “7 คำถามที่จะดูว่าโมเดลธุรกิจของคุณเป็นอย่างไร” ซึ่งคุณ Alex ได้กล่าวไว้ในการสัมมนาครับว่า ธุรกิจของคุณจะยั่งยืนในระยะยาวและประสบผลสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจครับ ดังนั้น กลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ผลตอบแทนทางธุรกิจ รวมทั้งการป้องกันการแข่งขัน คุณ Alex ได้ให้แนวคำถามไว้ 7 ข้อด้วยกัน มาดูตัวอย่างและคำอธิบายของแต่ละข้อจะได้เข้าใจมากขึ้นครับ

7 คำถามวิเคราะห์ว่า Business Model ของคุณเป็นอย่างไร

1. Switching costs (ต้นทุนในการเปลี่ยน)

“How easy or difficult is it for customers to switch to another company?”

เป็นโมเดลธุรกิจที่พยายามให้ลูกค้าอยู่กับเราได้นาน และเปลี่ยนไปใช้คนอื่นยาก ตัวอย่างเช่น Microsoft และ Apple ที่จะมีผู้ใช้ประจำเป็นของตัวเองโดยเปลี่ยนไปใช้สินค้าหรือบริการของคนอื่นยาก

2. Recurring Revenue (ลูกค้าต่อเนื่อง)

“Is every sale a new effort or will it result in follow up revenues and purchases?
How evenly distributed are you revenues through the year?”

เป็นโมเดลธุรกิจที่สร้างยอดขายต่อเนื่องที่ทำให้เกิดรายได้ตามเรื่อย ๆ ไม่ได้จบในครั้งเดียว เช่น Nespresso ที่นอกจากขายเครื่องแล้วลูกค้าจะต้องกลับมาซื้อแคปซูลกาแฟจากทางบริษัทไป

3. Earning vs Spending (รับเงินก่อนจ่ายออก)

“Are you earning money before you are spending it?”

เป็นโมเดลทางธุรกิจที่ทำให้เกิดรายได้ก่อนที่จะทำธุรกิจให้ลูกค้าก่อน เช่น Dell Computer ที่ลูกค้าสั่งซื้อคอมพิวเตอร์และจ่ายเงินล่วงหน้า ก่อนที่บริษัทจะเริ่มต้นประกอบคอมพิวเตอร์ชิ้นดังกล่าวให้ลูกค้า

Business Model

4. Game Changing Cost Structure (แข่งด้วยต้นทุน)

“Is your cost structure substantially different and better than those of competitors?”

เปลี่ยนโมเดลธุรกิจด้วยต้นทุนที่เปลี่ยน เช่น AirBNB, Uber, Netflix, Skype ที่ใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำธุรกิจด้วยโมเดลธุรกิจที่ทำต้นทุนในการทำธุรกิจต่ำกว่าคู่แข่งมาก

5. Others Who Do the Work (ให้คนอื่นทำงานแทนเรา)

“How much does your business model get customers or third parties to create value for you?”

เป็นการปล่อยให้คนอื่นนั้นเป็นคนสร้างคุณค่าในธุรกิจ โดยที่เจ้าของธุรกิจไม่ต้องทำเองทั้งหมด ตัวอย่างเช่น Facebook ที่ผู้ใช้เป็นผู้สร้าง content ขึ้นบน platform ดังกล่าวให้ โดยที่ facebook ไม่ได้จ้าง user หรือ IKEA ก็เช่นกัน ที่ยกภาระในเรื่องการประกอบเฟอร์นิเจอร์ให้กับลูกค้าเป็นผู้ไปทำเอง

Business Model

6. Scalability (ขยายได้)

“How rapidly and how easily can you grow your business model without hitting roadblocks?”

เป็นโมเดลทางธุรกิจที่สามารถที่จะเติบโตและขยายได้โดยที่ไม่มีข้อจำกัด เช่น McDonald ที่สามารถขยายสาขาไปได้ทั่วโลก เช่นเดียวกับ AirBNB และ Grab (จริง ๆ แล้วก็มีข้อจำกัดด้านกฎหมายของแต่ละประเทศ)

7. Protection from Competition (ป้องกันการแข่งขัน)

“How much is your business model protecting you from your competition?”

คือโมเดลทางธุรกิจที่ป้องกันไม่ให้คู่แข่งเข้ามาแย่งลูกค้าในตลาดไปได้ ตัวอย่างคือ appstore ของ Apple และ Linkedin

ในตอนนี้คิดว่าหลาย ๆ ท่านคงได้ทบทวนโมเดลธุรกิจของตัวเองแล้วนะครับ อย่าลืมนะครับว่า แค่ไอเดียดี ๆ ไม่สามารถทำให้ธุรกิจเราเติบโตได้ แต่โมเดลธุรกิจที่ดี สามารถช่วยให้เราเติบโตได้อย่างยั่งยืน การออกแบบหรือคิดธุรกิจแล้วไม่ทดสอบโมเดลธุรกิจ ไม่ลองลงมือทำก่อนลงทุนจริง นี่แหละคือความเสี่ยงของการทำธุรกิจ

บทความโดย: อาจารย์อมรเทพ ทวีพานิชย์

ดูรายละเอียดหลักสูตรเพิ่มเติมได้ที่: In House


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
โทร : 098-424-5241
https://www.facebook.com/DeOneAcademy

แชร์โพสต์นี้