สรุปประเด็นหัวข้อ
How to Prepare Your Business for Digital Transformation
ในการอบรมสัมมนาหลักสูตร TEN X: Transformational Executive Network For Exponential Growth รุ่นที่ 1
วิทยากร: คุณวิทัย รัตนากร
ผู้อำนวยการ ธนาคารออมสิน
วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.00 – 18.00 น. ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ประสบการณ์ทำ Transformation Business
- ทำงานในด้านการเงินของภาคเอกชนมาโดยตลอด มีโอกาสได้กลับเข้ามาทำงานให้ภาครัฐ ดังนี้
- เป็น CFO ที่ธนาคารออมสินประมาณ 3 ปี
- ถูกยืมตัวไปทำงานที่ธนาคารรัฐแห่งหนึ่งในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่มี NPL 80%
- ถูกสั่งให้เข้าทำงานในธนาคารอิสลาม เป็นสัญญายืมตัว 12 เดือน ถือเป็นการเข้าทำงานที่มีความเสี่ยงมากเพราะหากทำได้ดีก็จะสามารถประสบความสำเร็จและไปต่อได้ แต่อย่าหากทำผิดพลาดใด ๆ อาจมีผลกระทบที่ไม่ดีตามมาได้
ขนาดของแบงค์รัฐออมสิน
- ออมสินมีประมาณ 3.3 ล้านล้านบาท
- อยู่ในลำดับที่ 1 ใน 5 ของธนาคารขนาดใหญ่
- มีสาขาออมสินประมาณ 1,550 สาขา
- มีตู้เอทีเอ็มจำนวน 7,000 ตู้
- พนักงาน 22,000 คน
- เป็นธนาคารนำส่งเงินกำไรให้รัฐบาลเพื่อนำไปเป็นงบประมาณ
- เป็นธนาคารที่นำส่งเงินกำไรให้รัฐบาลสูงสุดเป็นอันดับ 3 จากธนาคารรัฐวิสาหกิจทั้งหมด
- แหล่งที่ 1 คือ กองสลากกินแบ่งรัฐบาล
- แหล่งที่ 2 คือ ปตท.
- แหล่งที่ 3 และ ที่ 4 คือ การไฟฟ้าการผลิต
ประสบการณ์ Business Turn Around
- คุณวิทัย รัตนากรเกิดความรู้สึกกังวลใจแต่ก็ตั้งใจทำงานโดยมีเกณฑ์ที่ว่า 6+6 หมายถึง หากในช่วง 6 เดือนแรกสามารถสร้างกำไรให้แก่ธนาคารได้จะสามารถกลับบ้านได้โดยทันที
- มีหนี้สินคงเหลือซ่อนอยู่
- พยายามหากำไรให้ได้เร็วที่สุด
- คิดแบบแนวคิด Quick Turn Around
- หาจุดที่ทำให้ win ได้
- อย่าปล่อยเงินกู้โดยเด็ดขาด ยังไงก็ขาดทุนและเป็นหนี้อีกครั้ง
- หาแนวทางที่สามารถปรับเปลี่ยนที่รวดเร็ว
- ทำการเจาะ balance sheet
*ความรู้เพิ่มเติม Balance Sheet (DS_BLS) เป็นข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศและสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ โดยแยกเป็นสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของผู้ถือหุ้น/ส่วนของสำนักงานใหญ่ ดังนี้ ด้านสินทรัพย์ แยกเป็น 1. เงินสด 2. รายการระหว่างธนาคารและตลาดเงินสุทธิ
กองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. เป็นระบบออมเกษียณภาคบังคับสำหรับข้าราชการโดยเฉพาะ ซึ่งนี่อาจเป็นระบบออมเกษียณภาคบังคับที่ดีที่สุดในทุกระบบของประเทศไทย
- เป็นหนึ่งในระบบออมเกษียณภาคบังคับในประเทศไทย นอกเหนือไปจากการออมในกองทุนชราภาพประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอย่างฝั่งบริษัทเอกชน
- หน้าที่ของการทำงานในกองทุนบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ
- ถือเป็นการทำงานที่เป็นการทำงานแบบเรียบง่ายเป็นอย่างมาก
- ไม่ต้องหาลูกค้า
- ลูกค้าเดินเข้ามากู้ยืมเอง
- รับเงิน 3% จากเงินกู้
- หากลูกค้าต้องการลาออก ต้องลาออกจากราชการด้วยเช่นกัน
- ไม่ต้องดูแลลูกค้าใด ๆ ทั้งสิ้น
- สามารถเพิ่มสัดส่วนการออมจาก 3% เป็น 5% ได้เพียงแค่ส่ง platform
- หากต้องการเปลี่ยนแผนการลงทุน ทำได้เพียงแค่ส่ง platform
- ไม่มีการบริหารแบบดิจิทัล
- มีสภาพเหมือนเอกชน
- อย่าคิดว่าข้าราชการเป็นลูกค้า เพราะถ้าหากคิดแบบนี้องค์กรจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น
- พยายามปรับเปลี่ยนและพัฒนาองค์การให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น
- ยกตัวอย่างในกรณีของแอปพลิเคชั่นของกบข. ที่มีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายและครบถ้วน จบครบภายในแอปเดียว
ปัญหาที่เกิดขึ้น
หลังจากที่คุณวิทัย รัตนากร ได้เข้ามาทำงานในออมสินเป็นเวลา 2 ปี ธนาคารออมสินไม่มีอะไรเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ในช่วงเวลานั้นคุณวิทัย รัตนากร ได้ทำธุรกิจเหมือนแบงค์พาณิชย์ ไม่มีแนวคิดเกี่ยวกับการช่วยเหลือสังคมใด ๆ ทั้งสิ้น คุณวิทัย รัตนากร ได้นำแนวคิด Social Bank มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
- รัฐบาล
- กรรมการ
- กระทรวงคลัง
- แบงค์ชาติ
คุณวิทัย รัตนากร มีเงินทุนสำรองจำนวน 2 เงินทุนเป็นจำนวนเงิน 4,000 ล้านบาท เปอร์เซ็นต์ของ NPL สูงมากประมาณ แสนล้านบาท มีจดหมายจากคำสั่งแบงค์ชาติให้ทำการสำรองเงินทุนเป็น 80,000 ล้านบาท ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยกำลังประสบปัญหากับสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้หนี้สินเคลื่อนไหวได้ง่าย คุณวิทัย รัตนากร มีแนวทางดังนี้
- ทิ้งโปรเจกต์ที่ไม่สำคัญ
- ตัดงานเกี่ยวกับ PR
- งดการบริจาคและการช่วยเหลือ
ด้วยแนวทางดังกล่าว ทำให้ในช่วงเวลา 2 ปีมีโครงการมากกว่า 45 โครงการ มีคนเข้ามาใช้งานทั้งหมด 13 ล้านคน ซึ่งผู้คนจำนวนนี้ทำให้มีการให้สินเชื่อประมาณ 5.7 ล้านคน
สิ่งที่ภาคภูมิใจ
- 2.7 ล้านคนในนั้นเป็นบุคคลที่มีไม่มีประวัติการกู้ใด ๆ ทั้งสิ้น
- 2.7 ล้านคนในนั้นเป็นบุคคลที่ไม่สามารถยื่นกู้จากที่ไหนได้แล้วทั้งสิ้น
- จำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมี 4.2 ล้านคนเป็นบุคคลที่ไม่มีเงินเดือน
- สามารถควบคุมความเสี่ยงต่าง ๆ ได้
- สามารถช่วยเหลือผู้คนได้จริง
- ไม่มีแบงค์ธนาคารพาณิชย์ที่ไหนทำเช่นนี้มาก่อน
คอนเซ็ปท์หรือแนวคิด
- ทำธุรกิจปกติ ให้มีกำไร
- นำกำไรบางส่วนมาทำภารกิจเชิงสังคม
- โปรเจกต์เชิงสังคมในบางโปรเจกต์ จำเป็นที่จะต้องขาดทุน
- ไม่สามารถได้รับกำไรในทุก ๆ โปรเจกต์อย่างครบถ้วน
- ทุกองค์กรแบงค์จะต้องมีโปรเจกต์เชิงสังคม
- นำกำไรส่วนหนึ่งจากธุรกิจปกติ มาจุนเจือให้กับคนจน
- ต้องสร้าง impact ให้กับสังคม แต่อย่างไรก็ตาม กำไรก็ห้ามตกเช่นเดียวกัน
- ต้องสามารถช่วยเหลือผู้คนได้จริง
เป้าหมายปลายทาง SDG ทั้งหมด
คุณวิทัย รัตนากร เน้นย้ำการปฏิบัติงานจริงทั้งหมด 2 หัวข้อดังนี้
- ลดความเหลื่อล้ำทางสังคม
- แก้ปัญหาความยากจน
ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย
- ปัญหาความยากจน
- ปัญหาคอรัปชั่นและความเลื่อมล้ำ
การทำธุรกิจที่สนใจกับสังคม ผู้คนและสิ่งแวดล้อม *เป็นคอนเซ็ปท์ที่นิยมและทำได้ดี
2 เรื่องที่คุณวิทัย รัตนากร คิดจะทำใหม่
- ตัดราคาเงินทะเบียนของมอเตอร์ไซต์ถึง 10% ไม่ต้องวางดาวน์ ไมมีดอกเบี้ย สามารถนำมอเตอร์ไซต์กลับบ้านได้เลย
- มีที่ดินมีเงิน โฉนดสามารถนำเข้าแบงค์ได้ ไม่ตรวจวิเคราะห์ที่ดินใด ๆ ทั้งสิ้น ได้รับเงินครึ่งหนึ่ง
.
หากท่านต้องการเรียนรู้ทุกองค์ประกอบของ Transformation พัฒนาทักษะด้านการบริหารองค์กรในยุคดิจิทัลให้แข็งแกร่งมากขึ้น หลักสูตร TEN X ของเรา พร้อมที่จะช่วยให้ท่านปรับเปลี่ยนองค์กรให้เติบโตแบบก้าวกระโดด
สนใจดูรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม คลิก: TEN X.UTCC หรือ TEN X
สนใจสอบถามรายละเอียด ติดต่อได้เลยที่
Facebook: DeOne Academy หรือ TEN X
คุณศุภเสริฐ(กอฟ) โทร: 098-424-5241