7 วิธีเปลี่ยนตัวเองให้กล้าแสดงความเห็นในที่ประชุม

แสดงความเห็นในที่ประชุม

เรามักได้ยินคนพูดว่าวัฒนธรรมของคนไทยไม่ค่อยกล้าที่จะแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ตั้งแต่ระบบการศึกษาในห้องเรียน มาจนถึงสังคมในการทำงาน ต่างจากการแสดงความเห็นในสภาพแวดล้อมของชาวตะวันตก ซึ่งการแสดงความเห็นในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างเพื่อนร่วมงานและผู้บริหาร

การเปิดเผยความคิดและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจช่วยเพิ่มความรู้สึกร่วมและรู้สึกถึงความสำคัญของตนเองภายในองค์กร ในบางครั้งการแสดงความเห็นอาจทำให้เรารู้สึกไม่สบายใจหรือกลัวที่จะถูกตำหนิ ดังนั้น วิธีการเปลี่ยนให้ตนเองกล้าแสดงความเห็นในที่ทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่เราทุกคนควรพิจารณาอย่างจริงจัง

10 วิธีเปลี่ยนตัวเองให้แสดงความเห็นในที่ประชุม

1. มั่นใจในความคิดตัวเอง

การมั่นใจว่าตนเองคิดเห็นอย่างไรและต้องการอะไร เป็นการเริ่มต้นที่สำคัญที่สุดในการที่จะแสดงความเห็น เพราะ เมื่อเรารู้และมั่นใจว่าสิ่งนั้นคือสิ่งที่เราคิดหรืออยากเสนอจริง ๆ เราจะมั่นใจในสิ่งที่เราแสดงความเห็นออกไป ลองพิจารณาให้ถี่ถ้วน สาเหตุที่ทำให้คนเรารู้สึกกลัวหรือไม่สบายใจในการแสดงความเห็นอาจเป็นเพราะไม่รู้จักตัวเองมากพอก็เป็นได้

2. ศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้อง

การเตรียมความพร้อมโดยการศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับโครงร่างงาน นโยบาย ข้อมูลบันทึกในสิ่งที่เคยทำมา หรือข้อมูลที่สามารถประเมินผลกระทบจากความเห็นของคุณ เพื่อเป็นการอ้างอิง และมีข้อมูลประกอบความเห็นไม่ใช่การพูดลอย ๆ

3. พูดอย่างสุภาพและเหมาะสม

ในการแสดงความเห็น ควรคำนึงเสมอว่าการใช้ภาษา ท่าทาง และรูปแบบการพูดที่สุภาพและเหมาะสมมีความสำคัญ เพราะเป็นการแสดงออกที่ให้เกียรติผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังรู้สึกเปิดรับความเห็นของเรามาพิจารณา เพิ่มความหนักแน่นและความน่าเชื่อถือ

4. พูดเชิงบวก

ในกรณีที่จำเป็นต้องแสดงความเห็นเป็นลบ พยายามระบุสิ่งที่อยากเสนอแนะเพื่อปรับปรุงและช่วยเสริมสร้างเข้าไปด้วย อย่าตำหนิเพียงอย่างเดียว จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกแย่และเกิดกำแพงขึ้นมาในการที่จะปฏิบัติแก้ไข หรืออาจจะชมในเรื่องอื่นเสริมเข้าไปก็ได้

แสดงความเห็นในที่ประชุม

5. ควบคุมอารมณ์

การรักษาอารมณ์ให้นิ่งช่วยในการแสดงความเห็นอย่างมั่นใจ พยายามแสดงความเห็นหรือแนวทางที่เป็นประโยชน์ และปรับเปลี่ยนความสับสนให้เกิดเป็นการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

6. ฝึกฝนการพูดและการสื่อสาร

การพัฒนาทักษะการสื่อสารและการพูดอย่างชัดเจนจะช่วยให้คุณรู้สึกมั่นใจมากขึ้นในการแสดงความเห็น

แสดงความเห็นในที่ประชุม

7. ไม่ท้อแท้หรือสิ้นหวัง

ในบางครั้งความเห็นที่เสนอไปอาจถูกปฏิเสธ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แปลว่าความเห็นของเราไม่ดี อย่าเพิ่งเก็บความเห็นนั้นเข้าลิ้นชัก เราควรพยายามหาทางที่เหมาะสมในการนำเสนอความเห็นอีกครั้งหากคิดว่าความเห็นนั้นยังเป็นประโยชน์

การแสดงความเห็นในที่ประชุมเป็นกระบวนการที่ต้องฝึกฝนและพัฒนา เมื่อเรามีโอกาสแสดงความเห็นบ่อย ๆ ต่อไปก็จะสามารถแสดงความเห็นได้อย่างมั่นใจมากขึ้น อย่าเพิ่งกังวลถึงการปฏิเสธที่จะได้รับ เพราะทุกการกระทำเราจะได้รับฟีดแบคที่สามารถนำมาเป็นไอเดียหรือปรับปรุงการทำงานได้อย่างแน่นอน

DeOne Academy มีหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำที่ตอบโจทย์ผู้นำทุกระดับ เรามีประสบการณ์กว่า 18 ปีในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรชั้นนำ ด้วยวิทยากรมืออาชีพ


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: 

สนใจสอบถามรายละเอียดและให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
📑กรอกข้อมูลได้ที่: https://shorturl.at/BFNTY
📞โทร: 065-097-9444

💚Line: @deoneacademy
📩E-Mail: info@deoneacademy.com
📌Website: https://deoneacademy.com

แชร์โพสต์นี้