หัวหน้าใจดีเกินไปก็เปรียบเหมือนภัยเงียบในองค์กร

หัวหน้าใจดี

เรามักมีภาพจำขององค์กรสมัยใหม่ที่มีความพร้อมในเรื่องของสวัสดิการ มีความยืดหยุ่นในการทำงานและเวลาการทำงาน สภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่ดู relax มากกว่าองค์กรใหญ่ ๆ ในอดีต ซึ่งการมีหัวหน้าที่มีความเอาใจใส่และเห็นใจคนในทีมเป็นข้อดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่เต็มไปด้วยความเคร่งเครียดของเนื้องานที่มีการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง หัวหน้าที่มี Empathy มีความเข้าใจ ให้ความเสมอภาค ใส่ใจความรู้สึกและความต้องการของพนักงานในองค์กรก็มีโอกาสสร้างความไว้วางใจ ความสามัคคีในทีม และส่งผลให้งานที่ทำมีความประสบความสำเร็จมากขึ้น

ทฤษฎี GRID ได้ระบุถึงพฤติกรรมในการทำงานลักษณะนี้ใน Grid Styles ทั้ง 7 ว่าเป็นพวก สไตล์ 1,9 โอนอ่อนผ่อนตาม ซึ่งเป็นพฤติกรรมการทำงานที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในผลงานต่ำ มุ่งมั่นในคนสูง มีความตระหนักถึงความรู้สึก จุดมุ่งหมาย ของผู้อื่นอยู่เสมอ มีความเป็นมิตร ความเห็นอกเห็นใจ เข้าถึงได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม ความเห็นอกเห็นใจ หรือใจดีที่มากเกินไปก็อาจกลายเป็นภัยแห่งการทำงานในองค์กรได้เช่นกัน หากหัวหน้ามีแต่ความใจดี โอนอ่อนกับงานหรือกระบวนการทำงานของพนักงาน จนทำให้สูญเสียความเป็นมืออาชีพไป องค์กรอาจพบว่า แผนการทำงานที่วางไว้ไม่ได้ดำเนินไปตามแผน หรือมีบางสิ่งบางอย่างถูกละเลยไป

หัวหน้าใจดีเกินไปสามารถก่อให้เกิดปัญหาในองค์กรอย่างไรบ้าง?

1. ปัญหาเรื่องของการตัดสินใจ

หัวหน้าใจดีเกินไปอาจไม่กล้าตัดสินใจในสิ่งที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อพนักงานในทีม โดยเฉพาะเรื่องละเอียดอ่อนที่มีผู้ได้รับบทลงโทษ หรืออาจมีความเกรงใจต่อผู้ที่มีส่วนร่วมต่องานนั้น ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการหลีกเลี่ยง หรือตัดสินใจในเรื่องสำคัญล่าช้าออกไป ซึ่งอาจทำให้องค์กรขาดความเข้มแข็ง หละหลวม หรือดำเนินธุรกิจไปอย่างชักช้าและรีรอ

หัวหน้าใจดี

2. ปัญหาเรื่องการแสดงความคิดเห็น

หัวหน้าใจดีเกินไปไม่สามารถแสดงความคิดเห็นฟีดแบคต่องานหรือการทำงานของพนักงานได้อย่างเหมาะสม ตรงไปตรงมา และอาจไม่สามารถให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับทีมหรือองค์กรได้อย่างชัดเจน เนื่องจากความต้องการให้คนอื่นมีความสุขบ่อยครั้งมากเกินไป ทำให้สิ่งที่ควรต้องแก้ไขปรับปรุงไม่ได้รับการสื่อสารทำความเข้าใจ และไม่ได้รับการแก้ไข

หัวหน้าใจดี

3. องค์กรไม่มีความคิดเห็นต่างหรือต่อต้าน

การมีความคิดเห็นที่ต่อต้านไม่ใช่เรื่องที่แย่เสมอไป เพราะในการทำงานองค์กรไม่สามารถอ้างอิงการตัดสินใจของคนเป็นผู้นำได้อย่างเดียวโดยไม่พิจารณาจากความเห็นของพนักงานคนอื่น การมีความคิดเห็นที่แตกต่าง หลากหลาย จะทำให้การดำเนินงานรอบคอบและมีฉากทัศน์ในหลายมิติ ซึ่งอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างและเป็นประโยชน์ต่อองค์กรมากมาย ถ้าผู้นำใจดี ไม่ต้องการเห็นความหลากหลายหรือความเห็นที่ขัดแย้งกัน อาจทำให้องค์กรไม่สามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

4. ความหย่อนยาน หละหลวมในการทำงาน

หัวหน้าที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของคน นั่นก็คือพนักงานในองค์กร แคร์ความรู้สึกของพนักงานโดยไม่ยึดความเป็นมืออาชีพในการทำงานเท่าที่ควร อาจไม่รู้สึกสนใจเรื่องการแก้ปัญหาหรือเอาใจใส่เป้าหมายในการทำงาน หรือเป้าหมายขององค์กรอย่างเพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ หรือการทำงานตามเป้าหมายขององค์กรช้าลงได้

5. การเสียเวลาไปกับเรื่องส่วนบุคคลมากเกินไป

การเอาใจใส่คนในองค์กรเป็นเรื่องที่ดีในการอยู่ร่วมกัน แต่ทุกคนต่างก็มีเรื่องราวของตัวเอง มีปัญหาของตัวเอง การที่หัวหน้าใส่ใจในทุกเรื่องของพนักงานมากจนเกินไปอาจทำให้ใช้เวลาไปกับการแก้ปัญหาส่วนบุคคลเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจริง ๆ แล้วเวลานั้นสามารถนำไปทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้มากกว่า หรือเป็นเวลาที่เอาไปเพิ่มประสิทธิภาพในงานได้

หัวหน้าใจดี

การสร้างสรรค์บรรยากาศที่มีความเข้าใจและเห็นใจคนในทีมหรือองค์กรเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรระมัดระวังอะไรที่มากจนเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียต่อการทำงานขององค์กรและทีมงาน หัวหน้าที่สามารถสมดุลระหว่างการเอาใจใส่คนและการทำงานให้สมบูรณ์จะช่วยสร้างบรรยากาศที่เติบโตและมีประสิทธิภาพในการทำงานอย่างยั่งยืนในองค์กร

DeOne Academy มีเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรทำความเข้าใจถึงรูปแบบการทำงานของทีมหรือองค์กรได้อย่างชัดเจน นั่นคือ GRID จากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเราได้สิทธิ์เป็นตัวแทนแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: https://deoneacademy.com/consulting/

สนใจสอบถามรายละเอียดและให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
📑กรอกข้อมูลได้ที่: https://shorturl.at/BFNTY
📞คุณฤดีภรณ์ (ฝ้าย) โทร: 065-097-9444

💚Line: @deoneacademy
📩E-Mail: info@deoneacademy.com
📌Website: https://deoneacademy.com

แชร์โพสต์นี้