[TEN X] สรุปประเด็น Sharing Best Practice: Public Sector / SOE

สรุปประเด็นหัวข้อ
Sharing Best Practice: Public Sector / SOE

ในการอบรมสัมมนาหลักสูตร TEN X: Transformational Executive Network For Exponential Growth รุ่นที่ 1
วิทยากร: ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร
ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) หรือ OKMD
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2565 เวลา 17.00 – 18.00 น.
ณ ห้อง The River ชั้น 1 โรงแรมชาเทรียม ริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ


 

Public Sector ภาครัฐ

ความเห็นในห้องอมรม: มุมมองของประชาชนที่มีต่อภาครัฐ

  • หลาย ๆ อย่างที่ทำไม่ได้มาจากความต้องการของประชาชน
  • ทำสิ่งที่ได้ผลตอบแทนต่อตัวเอง ไม่ทำหากตนไม่ได้ผลประโยชน์
  • มี License เยอะไป คนทำธุรกิจลำบาก ต้องขออนุญาตหลายหน่วยงาน
  • ราชการบางหน่วยงานก็ดี เช่น กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

สิ่งที่ภาครัฐยังต้องปรับปรุง

  • โดยธรรมชาติ ทำงานช้า
  • พันธนาการกันเอง ย้อนแย้ง
  • กฎหมายเยอะเกินไป
  • มีอิทธิพลครอบงำ ไม่ว่าจะการเมืองหรือธุรกิจยักษ์ใหญ่

วิวัฒนาการของหน่วยงานราชการไทย

  • ประเทศไทยมาจากทหาร
  • สมัยก่อนช่วงอยุธยา เป็น 4 จตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีพระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนรัฐมนตรีด้วย แต่จัดให้มีระเบียบโดยให้มีเสนาบดีประจำกรมทั้ง 4 กรม
  • หลังจากนั้นปรับระบบอีกครั้งให้เป็น Metrix มีสมุหนายก และสมุหพระกลาโหม ยามสงคราม สมุหนายกดูหัวเมืองตอนเหนือ สมุหพระกลาโหมดูหัวเมืองตอนใต้
  • ระบบเวียง วัง คลัง นา อยู่มาอีก 100 ปีจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ปรับเป็นกระทรวงขึ้น 12 กระทรวง
  • ปี 2545 ปฏิรูประบบราชการอีกครั้ง 20 กระทรวง

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

  • ปัจจุบันไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอีกแล้ว
  • รัฐวิสาหกิจแรกที่แปรรูปคือ Internet Thailand อื่น ๆ เช่น ปตท การท่าอากาศยาน
  • ต่อมาหยุดจากเหตุการณ์การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งให้เกิดการปฏิวัติปี 2549
Public Sector ภาครัฐ

การปฏิรูประบบราชการหลังปี 2545

การจัดกลุ่มกระทรวง ทบวง กรมใหม่ จัดหมวดหมู่ใหม่

  1. เกิดหน่วยงานอิสระ หลายรูปแบบ
    • เช่น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระที่เป็นองค์กรกำกับดูแล
    • ไทยถือว่าก้าวหน้าแต่ยังไม่ครบ มีสาขาที่ดำเนินงานแล้ว เช่น ธปท กลต กสทช
    • บาง Sector ที่ควรจะมียังไม่มี เช่น เรื่องน้ำ ระบบคมนาคมขนส่ง
  2. เกิดองค์การมหาชน
    • ปัจจุบันมี 54 แห่ง
    • ไทยสร้างระบบราชการเหมือนเป็นฟังก์ชัน บางเรื่องจึง cross function อยู่ จึงสร้างองค์การมหาชนให้เป็นเหมือน Agenda based โฟกัสเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วถอดเรื่องนั้นออกจากกระทรวงเก่า
    • เช่น OKMD ดึงเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ออกจากกระทรวงศึกษาธิการ
  3. เกิดองค์กรวิชาชีพ
    • หลายองค์กรมีพระราชบัญญัติกำกับดูแล เช่น สภาวิศวกร สภาสถาปนิก
    • มีความเป็นรัฐ แต่คนที่ทำงานไม่ใช่ราชการ ควบคุมดูแล Professional ในสาขานั้น ๆ
  4. ปฏิรูปมหาวิทยาลัย
    • ปัจจุบันมี ม.รัฐ ม.เอกชน มหาวิทยาลัย
    • มหาวิทยาลัยในกำกับ คือ มหาวิทยาลัยของรัฐที่ออกนอกระบบ มีความเป็นอิสระในการดำเนินงานของตัวเองได้ ปัจจุบันมี 29 แห่ง
  5. ปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ
    • แปลงสภาพและกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เช่น ปตท การท่าอากาศยาน อสมท
    • ปัจจุบันรัฐวิสาหกิจในกระทรวงการคลังมี 55 แห่ง
    • บริษัทลูกของรัฐวิสาหกิจที่นัยยะยังเป็นรัฐวิสาหกิจ จะให้บริษัทแม่เป็นคนดูแล เช่น ปตท ดูแลบริษัทลูก 4-5 บริษัทของตนเองที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์

*หน่วยงานอิสระ ไม่ขึ้นกับรัฐมนตรีท่านใด มีระบบสรรหา กรรมการ ของตัวเอง

Public Sector ภาครัฐ

ปัญหา Top 10 ของหน่วยงานราชการ

  1. ทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
  2. ขนาดของระบบราชการไทยใหญ่ ซับซ้อน มีอัตรากำลังข้าราชการเป็นจำนวนมาก
  3. ความไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารราชการ ช้า รอยรั่วเยอะ ไม่ทันสถานการณ์ หลายขั้นตอน
  4. รวมศูนย์อำนาจ หลายเรื่องสั่งการจากกรุงเทพฯ
  5. โครงสร้างไม่ยืดหยุ่น ขาดความคล่องตัว
  6. กฎระเบียบเทคโนโลยีและวิธีปฏิบัติงานไม่ทันสมัย
  7. กำลังคนภาครัฐไม่มีคุณภาพ
  8. ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ไม่เหมาะสม
  9. ปัญหาทัศนคติและค่านิยมดั้งเดิม ไม่ทำอะไรใหม่ ไม่กล้าออกจาก Comfort Zone ไม่สั่งไม่ทำ
  10. ระบบจริยธรรม คุณธรรม เสื่อมโทรม ถูกการเมืองแทรกแซงในทุกระดับ

วิธีแก้ไข

  1. ต้องเพิ่มประสิทธิภาพ
    • จัดกลุ่มภารกิจใหม่ให้เรียบร้อย
    • มีเป้าหมายชัดเจน Reward ให้ชัดเจน
    • งานบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องถ่ายโอนหรือยุติบทบาท
    • กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้มีบทบาทมากกว่านี้
  2. มีเจ้าภาพ มี Accountability
    • มีตัวชี้วัดผลงานที่เป็นรูปธรรมและมีการทำสัญญาข้อตกลงในการปฏิบัติงาน
    • ถ้างานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ผู้ที่รับผิดชอบในเมีหน้าที่ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน
  3. ลดการทุจริต ปัญหาคอร์รัปชัน
    • ลดความซับซ้อน ยกเลิกกฎระเบียบยุ่งยากที่เปิดช่องโหว่
    • สร้างระบบการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
    • เพิ่มค่าตอบแทนข้าราชการ
    • ขจัดผู้มีอำนาจที่ขาดคุณธรรม การใช้ระบบพวกพ้อง
  4. ผูกมัดความรับผิดชอบของผู้มีอำนาจในข้อตกลงการทำงาน
    • สร้างกระบวนการทำงานที่ชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้
    • สร้างระบบถ่วงดุลการใช้อำนาจและดุลพินิจ
    • ปรับปรุงระบบบริหารงานบุคคลให้ข้าราชการได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม
    • พัฒนาทัศนคติ ค่านิยม
    • ให้ข้าราชการที่ด้อยคุณภาพออกจากราชการได้โดยไม่ถือว่าเป็นข้อบกพร่องของบุคคล

หากท่านต้องการเรียนรู้ทุกองค์ประกอบของ Transformation พัฒนาทักษะด้านการบริหารองค์กรในยุคดิจิทัลให้แข็งแกร่งมากขึ้น หลักสูตร TEN X ของเรา พร้อมที่จะช่วยให้ท่านปรับเปลี่ยนองค์กรให้เติบโตแบบก้าวกระโดด 


สนใจดูรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม คลิก: TEN X.UTCC หรือ TEN X

สนใจสอบถามรายละเอียด ติดต่อได้เลยที่
Facebook:  DeOne Academy หรือ TEN X
คุณศุภเสริฐ(กอฟ) โทร: 098-424-5241

Public Sector ภาครัฐ

แชร์โพสต์นี้