[TEN X] สรุปประเด็น Business Model Transformation

สรุปประเด็นหัวข้อ
Business Model Transformation

ในการอบรมสัมมนาหลักสูตร TEN X: Transformational Executive Network For Exponential Growth รุ่นที่ 1
วิทยากร: คุณสาระ ล่ำซำ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.00 – 18.00 น. ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


 

Q: Disrupt ในช่วงนี้ส่งผลกระทบกับการคิดเกี่ยวกับ Transformation อย่างไรบ้าง

1. ก่อนช่วงสถานการณ์วิด-19 โดน disrupt มาเยอะมากในเฉพาะด้านของการประกันภัยหรือประกันชีวิตก็ตรึงกับเศรษฐกิจที่ต้องมีดอกเบี้ย อาจกล่าวได้ว่า ดอกเบี้ยเป็นจุดที่ disrupt มาโดยตลอด
2. ประกันอยู่ในช่วงที่อยู่กึ่งกลางมาโดยตลอด เมื่อช่วงเวลาเริ่มเปลี่ยนไปอาจเป็นได้ทั้งช่วงของโอกาสและช่วงของการท้าทายในรูปแบบของการประกันชีวิต
3. สถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 2 ปีเต็ม ในช่วง 2563 เป็นปีที่การประกันภัยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก คนเริ่มไปโรงพยาบาลน้อยลงเพราะเกรงกลัวโควิด-19 รวมถึงรัฐบาลก็ไม่ได้สนับสนุนใด ๆ
4. ช่วงปี 2564 เป็นอีกปีที่ประกันภัยเริ่มลดลงในแนวดิ่ง ซึ่งเกิดปัญหากับประกันภัยเยอะมาก
5. ดิจิทัลเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน มีส่วนที่ disrupt ในเรื่องของการประกันภัยในลักษณะที่คล้ายกับธุรกิจในรูปแบบอื่น ๆ
6. ในด้านกฎหมายเป็นเรื่องที่เคร่งมาก กฎหมายธุรกิจมีความยากและซับซ้อน

TEN X Business Model Transformation เมืองไทยประกันชีวิต สาระ ล่ำซำ deone academy

Disrupt Human

ประกันเป็นเรื่องของบุคคลระหว่างบุคคลกับบุคคลหนึ่ง ในความเป็นจริง ปัจจุบันนั้นประกันภัยเป็นเรื่องของความต้องการเฉพาะตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งต้องอาศัยคนและความเชื่อใจ

Digital เกี่ยวข้องกับประกันภัยอย่างไร

Digital ไม่เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเริ่มหายจากระบบประกันภัย แต่เป็นการนำ Digital มาประยุกต์ใช้ในเกิดประโยชน์สูงสุด หรืออาจกล่าวได้ว่า การขับเคลื่อนธุรกิจประกันภัยสู่การเป็นผู้นำธุรกิจดิจิทัล คือ การคาดเดาความคาดหวังของลูกค้า รูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ และผสานกลยุทธ์เข้ากับการจัดการแบบยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น

Business Transformation ของประกันภัย

1. ยอดขาย
2. กำไร
3. มองในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว

Health 5.0

ในสถานการณ์ล่าสุดเมืองไทยประกันชีวิตได้ประกาศถึงหัวข้อ Health 5.0 โดยมีเหตุผลว่า หากเป็นประกันภัยที่มีเพียงแค่การประกันภัยอย่างเดียว ในปัจจุบันเริ่มมีเยอะขึ้นและเยอะจนมากเกินไป ซึ่งสถิติสูงถึง 39% ซึ่งข้อดีของประเทศไทยมีดังนี้

  • Population health ไม่ตรงและลดลง
  • มีอายุที่ยืน มีสภาพผู้ผู้วัยที่เพิ่มขึ้น

ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อ 15 ปีที่แล้วเป็นยุคที่การประกันภัยรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงเป็นที่มาที่จะทำให้เริ่มมีการปรับตัวให้เข้ากับวิธีคิดที่ทันสมัยตามช่วงยุคช่วงเวลา

Generation ในปัจจุบัน

  • การดูแลสุขภาพ
  • การออกกำลัง
  • การดูแลบุคลิกภาพ
  • การดูแลรักษาหุ่น
  • เทคโนโลยี
health Business Model Transformation เมืองไทยประกันชีวิต

Q: การออก new products ทำ new website ทำ new service ถือเป็น Business Transformation หรือไม่

หากสามารถสร้างรายได้ให้กับองค์กรหรือธุรกิจได้ ถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับ Business Transformation ทั้งหมด

ยกตัวอย่าง
หากเริ่มเข้าเริ่มไปทำเรื่อง health จะเริ่มเห็นนวัตกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถสร้างรายได้ในส่วนหนึ่งเช่นเดียวกัน

Business Model Transformation เมืองไทยประกันชีวิต สาระ ล่ำซำ

ปัญหาของประกันภัย

  1. คู่แข่งภายในประเทศไทยเยอะมาก
  2. ต้องยอมรับว่าคนไทยกับประกันไม่ใช่เรื่องง่าย
  3. ภาครัฐที่มีหน้าที่โดยตรงในการกำหนดนโยบายกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัยมีความยุ่งยากและซับซ้อนมากจนเกินไป

วิธีการและประสบการณ์ของ คุณสาระ ล่ำซำ

คุณสาระ ล่ำซำ ประสบปัญหา Digital disrupt เช่นเดียวกัน โดยมีวิธีการดังนี้

  1. ตั้งโจทย์และวางจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
  2. นึกถึงยอดขายและต้นทุน
  3. วางแพลนให้รอบคอบ

Q: เทคโนโลยีสามารถช่วยในด้าน Business Transformation มากแค่ไหน

เทคนิคมีประโยชน์ในหลายด้าน เช่น ทำให้การบวนการทำงานต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
*เทคโนโลยีสามารถช่วยได้ในหลาย ๆ กระบวนการแต่ต้องทำอย่างชัดเจนและรอบคอบ

  • ทำในรูปแบบเดิมหรือไม่
  • เทคโนโลยีสามารถช่วยได้จริง แต่ยังต้องพึ่งพามนุษย์เช่นเดิม
  • ในการประกันภัย เบี้ยประกันที่มาจากเทคโนโลยีมีเพียง 2% เบี้ยจากตัวแทนประกันชีวิตมากกว่า 50% และเบี้ยที่มาจากธนาคารประมาณ 40%

Q: ช่วยเล่าถึงอุปสรรคและวิธีการแก้ไขของการทำ Business Transformation

อุปสรรคที่ยากที่สุด คือ มนุษย์ วิธีการแก้ไข มีดังนี้

  • ต้องชัดเจนและกำหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
  • ดึงคนออกมาให้สอดคล้องกับฟังก์ชั่นที่กำหนด
  • ไม่เลือกบุคคลระดับหัวหน้า เพราะหัวหน้าทำงานในส่วนของเขาดีอยู่แล้ว
  • มักยืมตัวในระดับพนักงานที่ทำงานร่วมกับระหับหัวหน้ามาก่อน
  • ให้พลังงานยังทำงานในระบบเช่นเดิม แต่เพียงแค่ยืมตัวมาใช้ในส่วนที่ต้องการ
  • หลังจากนั้นต้องย้ายออกจากหัวหน้า เพื่อให้การทำงานมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  • สร้างวัฒนธรรมการทำงานที่เหมาะสม

วัฒนธรรมภายในองค์กรของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต

  1. จะแลกเปลี่ยนเรื่องราว มุมมองและความคิดระหว่างกัน
  2. เปิดให้น้อง ๆ ขึ้นมาพูด ซึ่ง 75% ของบุคลากรภายในบริษัทอยู่ในช่วง Gen Y
  3. จะมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
  4. แชร์มุมมองความคิดของแต่ละบุคคลได้
  5. สามารถเห็นต่างได้
  6. อย่าใช้อารมณ์ระหว่างแสดงความคิดเห็น

Q&A

Q: ธุรกิจประกันมีการพัฒนาด้าน Product ที่ดีขึ้นและราคาไม่แพงด้วย ขายง่าย ดีขึ้น และเบี้ยก็ถูกลง แต่สำหรับบุคคลที่มีงบประมาณการใช้เงินที่ไม่เพียงพอ ควรทำอย่างไร

A: ธุรกิจประกันจะมีรูปแบบของระบบที่หลากหลายและเหมาะสมแก่บุคคลนั้น ๆ ซึ่งจะมีแนวคิดดังนี้
• ทราบถึง pain point ในของแต่ละบุคคล
• คัดสรรหรือคัดเลือกรูปแบบที่เหมาะสมต่อบุคคล
• ในกรณีมนุษย์เงินเดือน จะมีต้นทุนและเบี้ยที่ถูกกว่าในช่วงวัยเกษียณ
• คนที่มีโรคอยู่แล้ว ธุรกิจประกันภัยจะไม่กล้ายื่นข้อเสนอเท่าไหร่นัก

Q: เทคโนโลยีเหมือนขา data เหมือนสมอง ทรัพยากรบุคคลเหมือนหัวใจ เป็นความคิดที่ถูกหรือไม่

A: ธุรกิจประกันภัยคล้าย ๆ กับธุรกิจอื่น ๆ ที่มีหลักการและความท้าทาย แต่ธุรกิจประกันภัยจะมีมุมมองความคิดดังต่อไปนี้
1. เปลี่ยนมุมมองความคิดของธุรกิจใหม่
2. จะมองแบบ out site in
3. เลิกการมองแบบ in site out
4. มองในหลาย ๆ มิติ เช่น มิติการบริการ เป็นต้น
5. ไม่แสวงหาลูกค้าเพียงอย่างเดียว
6. คิดและวางแผน ทำการวิเคราะห์การมองธุรกิจ แบบ out site in

Business Model Transformation เมืองไทยประกันชีวิต สาระ ล่ำซำ

โครงสร้างของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต

  • เมืองไทยกรุ๊ป เป็นตัวหลักในโครงสร้างของ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต
  • ตั้งใจทำในสิ่งที่องค์กรตั้งใจอยากจะทำได้อย่างเต็มที่
  • นำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร
  • จับมือกับบริษัทเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ AI
  • แสวงหาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ
  • สร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงานภายในองค์กรให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
  • ร่วมมือกับธุรกิจที่เป็น start up

Q: ในกรณีที่ดึงลูกน้องหรือลูกจ้างของระดับหัวหน้าลงไปทำงานร่วมด้วย ในช่วงที่ต้องการยืมตัวบุคลากรนั้น ๆ มีวิธีคุยกับหัวหน้าอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน

A: ต้องทุบโต๊ะ เพราะยังไงหัวหน้าก็ไม่ยอมง่าย ๆ แต่ไม่ใช่ว่าต้องทุบโต๊ะแต่เพียงอย่างเดียว ต้องมีการเจรจาถึงสิ่งที่ต้องการระหว่างกันด้วย อาจทำด้วยวิธีการดังนี้
1. การเสนอยื่นหาบุคลากรให้ใหม่
2. การเจรจาถึงสิ่งที่ต้องการ
3. เสนอทักษะที่ตนเองมีและเสนอบุคลากร

 

หากท่านต้องการเรียนรู้ทุกองค์ประกอบของ Transformation พัฒนาทักษะด้านการบริหารองค์กรในยุคดิจิทัลให้แข็งแกร่งมากขึ้น หลักสูตร TEN X ของเรา พร้อมที่จะช่วยให้ท่านปรับเปลี่ยนองค์กรให้เติบโตแบบก้าวกระโดด 


สนใจดูรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม คลิก: TEN X.UTCC หรือ TEN X

สนใจสอบถามรายละเอียด ติดต่อได้เลยที่
Facebook:  DeOne Academy หรือ TEN X
คุณศุภเสริฐ(กอฟ) โทร: 098-424-5241

แชร์โพสต์นี้