[TEN X] สรุปประเด็น Business Transformation

สรุปประเด็นหัวข้อ
Business Transformation

ในการอบรมสัมมนาหลักสูตร TEN X: Transformational Executive Network For Exponential Growth รุ่นที่ 1
วิทยากร: ดร.ธัชพล โปษยานนท์
ผู้อำนวยการ บริษัท พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ค ประเทศไทยและอินโดจีน
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย


robot Business Transformation

ในแง่ของธุรกิจที่นำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายและเกิดผล ที่ในอดีตไม่สามารถทำได้แต่ในปัจจุบันสามารถทำได้แล้ว เราเรียกว่า Digital Disruption
• ธุรกิจไม่มีการได้รับการปกป้องใด ๆ ที่ถูกผลกระทบมาจากการ disrupt ทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งสิ้น
• ในการประชุมส่วนมากจะเน้นย้ำในด้านของการ disrupt เป็นส่วนมาก เพราะกังวล
• เรื่องของ Industry disruption ในอดีตมีความกลัวเพียงแค่ 15% แต่ในปัจจุบันอยู่ที่ 69% เชื่อว่าตัวเองจะต้องถูก disrupt อย่างแน่นอน
• ในอนาคตในด้านของหุ่นยนต์ AI จะเข้ามา disrupt อย่างแน่นอน
• ในอนาคตเรื่องของ Metaverse จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
• ในปี 2030 ธุรกิจจะอยู่ใน block chain อย่างแน่นอน

ยกตัวอย่างการ Disrupt ที่ยังเกิดขึ้นอยู่

การเข้ามาของเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น อย่าง AI AR VR รวมถึง Blockchian
• Q: เซเว่นรู้ได้อย่างไรว่าของหมดจากชั้นแล้วเรียบร้อย ?
A: ใช้เทคโนโลยีในการเช็คได้อย่างทันที
• การใช้โดรนในการมาประยุกต์ใช้ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านการเกษตร ที่ใช้โดรนบินสำรวจพื้นที่และตรวจคุณภาพของพืช

Innovation

ไม่ใช่เกิดแค่การคิดเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องดูในด้านของ Value ของลูกค้าด้วย *จำเป็นอย่างมาก

ความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

ข้อเสียเปรียบของประเทศไทย

1. Economic performances
2. การทำธุรกิจไม่สามารถสู้กับคู่แข่งได้
3. Infrastructure เช่น Health, Environment ด้อยกว่าประเทศอื่น

ข้อได้เปรียบของประเทศไทย

1. Labor Cost ยังดีอยู่
2. ด้าน Labor Market มี Skills ที่เหมาะสม
3. เทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตทันสมัย
*หากเราสามารถนำศักยภาพของประเทศไทยไปใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม จะสามารถสร้างโอกาสและเสริมธุรกิจในการทำ business Transformation ได้

ภาพรวมสำหรับการแข่งขันที่ผู้บริหารที่จะต้องแข่งขันในระดับภูมิภาคและทั่วโลก

1. ในปัจจุบันเห็นภาพชัดเจนในด้านของเทคโนโลยี
2. มีการสร้าง Innovation
3. การทำ Business Transformation Transform ที่เป็น 4.0 ได้อย่างรวดเร็ว
4. การทำ Public Service
5. มีการพัฒนาในด้านของ Digital

ข้อแนะนำสำหรับประเทศไทย

1. ควรต้องสร้าง High Capacity Digital Infrastructure
2. ประยุกต์เทคโนโลยีให้มากกว่านี้ เปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจในด้านของการทำงานให้ดีมากยิ่งขึ้น
3. ปรับปรุงสังคมให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
4. พยายามเปลี่ยนทักษะและสกิลสู่สกิลที่ตั้งใจจะรับมาใหม่
5. สร้าง Trust และ Confidence ให้มั่นคง

ยกตัวอย่าง
สิงค์โปร์ได้สร้างเทคโนโลยี 5G ออกมาในรูปแบบของ Cloud ไปพัฒนาเป็น Sandbox ที่เป็นการทดสอบการบริหารของภาครัฐ ซึ่งทดสอบทั้งหมด 11 ภาครัฐ

Digital Transformation

คือ เครื่องมือที่เต็มเปี่ยมไปด้วยโอกาสที่ในอดีตไม่สามารถทำได้ แต่สามารถทำได้ในปัจจุบันและอนาคต เป็นส่วนที่ทำให้ต้องพร้อมที่จะต้องประยุกต์ใช้เครื่องมือได้อย่างง่ายและได้ประโยชน์มากที่สุด
1. เน้นการทำเพื่อ Value Creation
2. เปลี่ยนมุมมองจากภาครัฐให้เป็น Outside in ต้องมีการบูรณาการที่เหมาะสมถึงแม้จะเป็นเรื่องยากในการกระทำเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
3. การทำ digitization อาจเคยทำในองค์กรในบางองค์กร แต่ในปัจจุบันไม่สามารถทำได้เพราะไม่เพียงพอแล้ว ต้องทำนอกองค์กรหรือทำร่วมกับคนอื่น

4. *เป็นคอนเซ็ปท์ที่ยากที่สุดและมีความใกล้ตัวมากที่สุด คือ Platform การที่เราสร้างระบบที่เอื้อหนุนคุณค่าซึ่งกันและกัน นำคุณค่ามาแลกเปลี่ยนกันอย่างเหมาะสม สามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

o เป๋าตัง ที่นำข้อมูลของประชาชนมารวมกลุ่ม
o การขายสลากกินแบ่งรัฐบาล
o ขายทอง
o หุ้นกู้

เป๋าตัง

ในอนาคตยังใช้งานได้อย่างหลากหลายอย่างแน่นอน แต่อยากให้ใช้อย่างเป็นกลาง เป็นธรรมและมีประโยชน์ให้ได้มากที่สุด

Industry 4.0

เป็นการร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมและสพทช.ทำขึ้น ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จ เป็นการทำเกี่ยวกับ OEE ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเซนเซอร์มาประยุกต์ใช้โดยใช้เซนเซอร์วิเคราะห์และส่งข้อมูล เนื่องจากมีความรวดเร็วมากกว่ากำลังคนในการจดการผลิต

5G

มีการประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย เกิดขึ้นในแง่มุมต่าง ๆ ที่นำไปปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้นและเกิดประโยชน์

เป๋าตัง business transformation

Framework

สิ่งที่ต้องเน้นเครื่องมือและทักษะ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นงานหรือแนวคิดที่พัฒนาขึ้นมาด้วยโครงแบบที่กำหนด ที่สามารถนำไปใช้พัฒนาต่อได้ทันที โดยมีส่วนประกอบดังนี้

1. Digital Capabilities ทักษะทางด้านดิจิทัล

ความสามารถขององค์กรในการเลือก สรรหา เทคโนโลยีดิจิทัลต่างๆ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้

  • Customer Experience ประสบการณ์ลูกค้า

การทำธุรกิจ 100% สุดท้ายจะต้องทำการส่งมอบให้กับลูกค้า เป็นการทำงานเพื่อทำความเข้าใจลูกค้าในรายละเอียดมากขึ้น ใช้เทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นการเติบโตของลูกค้า สิ่งที่เราควรเก็บไว้คือทักษะในด้านการบริการลูกค้า

  • Operational Processes ทักษะและกระบวนการปฏิบัติงาน

ปรับปรุงกระบวนการภายในโดยใช้ประโยชน์จากการแปลงเป็นดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ ทำให้พนักงานมีเครื่องมือดิจิทัล และรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพและตัดสินใจทางธุรกิจเชิงกลยุทธ์มากขึ้น

  • Business Models

เป็นเรื่องที่ยากและในทุก ๆ องค์การจะต้องมี เป็นทักษะที่จำเป็นต้องสร้างโมเดลธุรกิจออกมาให้ยั่งยืน พลิกโฉมธุรกิจด้วยการเพิ่มข้อเสนอทางกายภาพด้วยเครื่องมือและบริการดิจิทัล การแนะนำผลิตภัณฑ์ดิจิทัล และการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้บริการที่ใช้ร่วมกันทั่วโลก

2. Leadership Capabilities ภาวะการเป็นผู้นำ

เป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการนำองค์กรสู่ความสำเร็จ เนื่องจากผู้นำจะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการอธิบาย ชักจูง ให้เกิดการมีส่วนร่วมในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ต้องปรับเปลี่ยนบทบาทตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยมีส่วนประกอบดังนี้

  • Digital Vision

อย่ากลัวในฐานะของผู้บริหาร ต้องทำการเปิดใจในการศึกษา เมื่อเริ่มทำการศึกษาจะมีความสนุกเกิดขึ้นและทำให้อยากศึกษาต่อ Vision เป็นการปรับมุมมองความคิด และเปิดใจในสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
* อย่าคิดว่าทำไม่ได้
* อย่าย่อท้อ
* อย่าคิดว่าจะต้องล้มเหลว
* คิดในสิ่งที่เป็นไปได้
* คิดในสิ่งที่สามารถปฏิบัติงานได้จริง
* อย่าคิดว่ามันไม่เวิร์ค
* ต้องเริ่มต้นจากโอกาส
* บอกตัวเองเสมอว่ามันสามารถเป็นไปได้

  • Engagement การปฏิบัติงานที่ส่วนใหญ่จะขาดคุณสมบัติในส่วนนี้ค่อนข้างมาก

* ต้องไปเข้าร่วม
* ต้องเข้าไปศึกษา
* ติดตามและไถ่ถามหาความรู้ต่าง ๆ
* แสวงหาหนทางการแก้ไขหากเกิดข้อผิดพลาด

  • Structure ในส่วนของทีม ต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้เหมาะสมอยู่เสมอ

* Digital Capabilities ต้องเข้าใจลูกค้าโดยละเอียดให้ได้มากที่สุด

Digital Workplace

ยกตัวอย่าง

  • การทำที่ทหารไทย ที่มีกล่องตามสาขาต่าง ๆ มีผู้คนหยิบใบประกาศภายในกล่องเพียงแค่ 10% และมีคนที่เข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมในเว็บไซต์ไม่ถึง 2% ซึ่งสื่อให้เห็นชัดเจนว่า ไม่สามารถทำให้องค์กรดีขึ้นเลยถ้าหากไม่นำ Digital มาประยุกต์ใช้
  • ช่องสามในช่วงเล่าข่าว สามารถนำโฆษณาเข้ามาเสริมแทรกได้ ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจ
  • การทำธุรกิจร่วมกับภาครัฐ ที่มีการออกนโยบายว่าราชกาลอนุญาตให้ work-anywhere
  • Business Transformation ต้องเกิดจากผู้ริเริ่มหรือผู้คิดไอเดีย ซึ่งมาจากกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ถูกคิดวิเคราะห์มาแล้วว่าจะนำ digital มาประยุกต์ใช้อย่างไรบ้าง
  • ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมาได้มีนโยบายออกมา เนื่องจากผู้คนต้องทำงานอยู่ที่บ้านและเพื่อทำให้การประชุมต่าง ๆ เป็นระเบียบและไม่ผิดกฎใด ๆ รัฐบาลจึงออกนโยบายให้มีกฎและระเบียบที่เรียบร้อย

ประกันของ คปภ.

  • มีระบบของด้านการบริการทั้งหมด 80 แอปพลิเคชั่น
  • ถูกยุบให้เหลือ 7 แพลตฟอร์ม
  • เน้นในด้านธุรกิจที่สำคัญ
  • เน้นธุรกิจที่ยั่งยืน
  • ต้องการให้การใช้ประกันเป็นประโยชน์มากที่สุด

เทคนิคที่อยากแนะนำ

การเข้าร่วมงานกับเด็กรุ่นใหม่ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้และได้รับมุมมองใหม่ ๆ มากมาย อาจเรียกได้ว่าให้เด็กรุ่นใหม่มาแนะนำหรือแนะนำความคิดมุมมองนั้น ๆ

business transformation

Q&A

Q: การมอง value มีเทคนิคอย่างไรบ้าง

A: ในแง่ของ value ต้องมองจากข้างนอกเข้าข้างใน มองหากลุ่มเป้าหมายของเราว่ากลุ่มเป้าหมายของเราได้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
คำแนะนำ
• ไอเดียเล็ก ไม่ได้แปลว่าเป็นไอเดียที่ไม่ดี
• คนที่เป็นลีดเดอร์ควรมองถึงคุณค่าเข้าไว้ เพราะเป็นตัวอย่างของโรลโมเดล
• อย่าตัดทิ้งไอเดียออก
• ไอเดียสามารถต่อเติมได้เสมอ
• การสร้าง value จะต้องเข้าถึงลูกค้าให้ได้
• ต้องพยายามทำความเข้าใจลูกค้าโดยละเอียด
• ต้องเข้าใจพฤติกรรมของลูกค้า
• อย่ามองข้าม value ของลูกค้า

Q: ปัจจุบันกำลังทำ Business Transformation เรื่องการ transform ระบบซึ่งมีความยากมาก เนื่องจากระบบการจัดจำหน่ายมีความยุ่งยากค่อนข้างสูง จะทำยังไงให้มีประสิทธิภาพ

A: ในเมื่อเห็นประเด็นของปัญหา เราจะต้องหาทางการแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการจัดระเบียบ จัดระบบปัญหาที่เกิดขึ้นออกมาเป็นกลุ่ม ๆ และเริ่มหาหนทางแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสม

Q: องค์กรของเราต้องการรายได้ เราควรที่จะ transform ให้กับตัวเองหรือไม่

A: จำเป็นที่จะต้องชัดเจนในจุดมุ่งหมายขององค์กร ต้องเปลี่ยนปัญหาหรือความซัมซ้อนให้กลายเป็นโอกาสให้ได้

Q: เรื่องมุมมองความคิดก็เป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ในขณะที่เกิดความขัดแย้งระหว่างการทำงานที่ช้าและเร็ว ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านของมุมมองความคิด โดยนับว่าเป็นอุปสรรคในการทำงาน ควรทำอย่างไร

A: ต้องทำการจำกลุ่มออกมาเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงเลย
2. กลุ่มที่ wait and see
3. กลุ่มที่อยากเปลี่ยนแปลง
ทำการแบ่งแยกหน้าที่ว่าควรทำอันไหนก่อน ต้องมีการสื่อสารที่ดีระหว่างกัน
แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม : ปัญหาหลักของทางภาครัฐ ที่มีหลายมุมมองบอกว่าทำงานภาครัฐเพราะมีความมั่นคงสูง แต่ความเป็นจริงแล้วการทำงานภาครัฐเป็นอาชีพที่เสี่ยงที่สุด เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ก็ติดคุกโดยทันที ดังนั้น เราควรระวังในการใช้ digital อย่างไร

transform business transformation

หากท่านต้องการเรียนรู้ทุกองค์ประกอบของ Transformation พัฒนาทักษะด้านการบริหารองค์กรในยุคดิจิทัลให้แข็งแกร่งมากขึ้น หลักสูตร TEN X ของเรา พร้อมที่จะช่วยให้ท่านปรับเปลี่ยนองค์กรให้เติบโตแบบก้าวกระโดด 


สนใจดูรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม คลิก: TEN X.UTCC หรือ TEN X

สนใจสอบถามรายละเอียด ติดต่อได้เลยที่
Facebook:  DeOne Academy หรือ TEN X
คุณศุภเสริฐ(กอฟ) โทร: 098-424-5241

แชร์โพสต์นี้