สรุปประเด็นหัวข้อ
Global Megatrends and Thailand’s Future Scenario
ในการอบรมสัมมนาหลักสูตร TEN X: Transformational Executive Network For Exponential Growth รุ่นที่ 1
วิทยากร: ดร.ธนาวิชญ์ จินดาประดิษฐ์
กรรมการผู้จัดการ
บริษัท แอทไวส คอนซัลติ้ง จำกัด
วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2565 เวลา 09.00 – 12.00 น. (Virtual Learning)

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
- Function จะเกี่ยวข้องกับแผนปฏิบัติการกระทรวง/กรม/หน่วยปฏิบัติ
- Agenda จะเกี่ยวข้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติและนโยบายความมั่งคนแห่งชาติ
- Area หรือระดับพื้นที่ หลายหน่วยงานในประเทศไทยและต่างประเทศเข้ามาเก็บเกี่ยวทางด้านธุรกิจในระดับนี้
ในการทำธุรกิจและมีการลงพื้นที่จะสามารถทำได้ง่ายกว่า ง่ายกว่าการหยิบจับงบส่วนกลางของภาครัฐบาล หรือการสร้าง connection ในการทำธุรกิจต่าง ๆ หากทำการลงพื้นที่จะมีความสะดวกและคล่องตัวกว่า
แผนพัฒนาระดับชาติของประเทศไทย
มีทั้งหมด 6 ด้าน ดังนี้
- ความอยู่ดีมีสุขของคนไทยและสังคมไทย
- ขีดความสามารถในการแข่งขันที่แข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ
- ความเท่าเทียมและความเสมอภาคของสังคม
- ความหลากหลายทางชีวภาพ คุณภาพสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
- ประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการเข้าถึงการให้บริการของภาครัฐ
* ยิ่งเรารู้กรอบของการพัฒนาประเทศมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งเห็นโอกาสในด้านธุรกิจมากขึ้น
เห็นอนาคตไทยมากขึ้นเท่านั้น
กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
อนาคตไทยต้องมีประเด็นดังต่อไปนี้
- ภาคการผลิตและบริหารเป้าหมาย
1) ศูนย์กลางดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
2) ประตูการค้าการลงทุนและโลจิสติกส์
3) การแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
4) ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก
5) การท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
6) เกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง - โอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม
1) SMEs ที่เข้มแข็ง ศักยภาพสูง แข่งขันได้
2) พื้นที่และเมืองอัจฉริยะ
3) ความยากจนข้ามรุ่นและความคุ้มครองทางสังคม - ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1) การลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
2) เศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ - ปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ
1) กำลังคนที่มีสมรรถนะสูง
2) ภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์ประชาชน

13 หมุดหมายอนาคตไทย (ยกตัวอย่าง 3 หมุดหมายแรก)
1.ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
- เป็นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบมุ่งเป้าเพื่อยกระดับการผลิต
- ส่งเสริมตลาดสินค้าเกษตร
- ส่งเสริมตลาดกลางและตลาดออนไลน์
- พัฒนาระบบบริการจัดการน้ำ *ในอนาคตจะเกี่ยวข้องกับระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างแน่นอน เช่น น้ำแล้ง น้ำท่วม เป็นต้น
- สนับสนุนระบบประกันภัยและมาตรฐานสินค้าเกษตร
- พัฒนาประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค้าผลผลิต
- ส่งเสริมให้เกษตรกรมีที่ทำกิน
- พัฒนาฐานข้อมูลการเกษตร
- ยกระดับความสามารถของเกษตรกร
- พัฒนากลไกต่าง ๆ ของเกษตร
2. ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
- ส่งเสริมกิจกรรม สินค้าและบริการการท่องเที่ยว
- พัฒนาการท่องเที่ยว
- ยกระดับการท่องเที่ยว
- พัฒนาทักษะของบุคลากรในภาคการท่องเที่ยว
- ปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบที่ล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ
- พัฒนาระบบข้อมูลการท่องเที่ยวให้เข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ง่าย
3. ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก
- ส่งเสริมให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
- สนับสนุนตลาดส่งออก
- กำหนดแผนการเปลี่ยนผ่านไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า
- ยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการ
- กำหนดมาตรการสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ
- วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
- สร้างความพร้อมต่าง ๆ
- ปรับปรุงกฎระเบียบให้เอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม
- ผลิตและพัฒนาทักษะแรงงาน
- กำหนดมาตรฐานด้านคุณสมบัติและความปลอดภัย
- สนับสนุนด้านเงินทุน

The Next Normal Global Megatrends กับปัจจัยพื้นฐาน 10 ประการ
- อาหาร จะเน้นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและในระยะยาว จะเน้นส่วนผสมที่เป็นผัก ผลไม้ ธัญพืช เป็นต้น ใครจับต้องธุรกิจด้านอาหารก่อนจะได้โอกาสมากกว่า
Q: ทำไมต้องเป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
A: จากข้อมูล Society & Media มีผู้คนค้นหาเกี่ยวกับอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพมากกว่า 300,000,000 Google ได้ทำแบบสำรวจ Food Trends ในปี 2016 มีข้อมูลว่า คีย์เวิร์ดที่ผู้คนค้นหามากที่สุด 5 ลำดับ คือ
1) Food With a Function อาหารที่รับประทานไปแล้วเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ในปัจจุบันผู้คนยังค้นหาอาหาร Food With a Function อยู่
2) Traveling Through Taste เที่ยวไปด้วยกินไปด้วย
3) Experimenting With Pork
4) Bite-Sized Snacks ของทานเล่นพอดีคำ
5) The Pasta Comeback พาสต้าที่ทำมาจากแป้งที่กินไปแล้วไม่รู้สึกแพ้อาหาร - ที่อยู่อาศัย จะเริ่มนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
- ยานพาหนะ เช่น รถไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นต้น
- โซเซียลมีเดีย จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและมิติใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
- สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าที่ผลิตจากธรรมชาติจะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคเริ่มแสวงหา
- เงิน จะเริ่มนิยมการใช้งานในรูปแบบของ e-payment
- เครื่องนุ่งห่ม นอกจากจะเน้นความสวยงามแล้วในอนาคตจะมุ่งในเรื่องของวัสดุและกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ยา หลังจากโควิด-19 ทำให้ผู้คนหันมาใส่ใจเรื่องยาเพิ่มมากขึ้น ธุรกิจด้านอาหารเสริมที่ช่วยทั้งเรื่องความงามและสุขภาพจะโตขึ้นอย่างมหาศาล
- โทรศัพท์มือถือ จะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นและจะเกี่ยวข้องกับการใส่ใจสิ่งแสดล้อม
- พลังงาน ใช้พลังงานทดแทนและพลังงานหมุนเวียนที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง

Competition and Disruption
จากข้อมูลเบื้องต้น Worldometors อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรบนโลกใบนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าภายในปี ค.ศ.2060 จะมีประชากรบนโลกใบนี้มากกว่า 10,000 ล้านคน ธุรกิจที่ในอนาคตจะเริ่มเกิดขึ้น
- อาหาร
- น้ำจืดบริสุทธิ์
- อากาศ
สิ่งที่ประเทศไทยไม่ได้มีการเตือนภัยใด ๆ ทั้งสิ้น
- Climate action failure take action อย่างไม่จริงจังจนล้มเหลวในที่สุด
- Extreme weather พายุ ภัยแล้งหรือความร้อนต่าง ๆ เป็นต้น
- Biodiversity loss ความหลากหลายทางชีวภาพที่เริ่มหายไป
- Social cohesion erosion ความยึดเหนี่ยวทางสังคมเริ่มจางหายไป ไม่เกาะกลุ่มกันมากเท่าไหร่นัก
- Livelihood crises การอยู่ดีกินดีเริ่มเข้าสู่วิกฤต
- Infectious diseases โรคติดต่อ
- Human environmental damage
- Natural resource crises วิกฤตสิ่งแวดล้อม
- Debt crises ปัญหาหนี้สินต่าง ๆ
- Geo-economics confrontation การโมตีและการแข่งขันต่าง ๆ
- อนาคตไทยหากต้องการพัฒนาประเทศจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พลังงาน ในแผนกระทรวงพลังงานได้กล่าวถึงการจัดหาน้ำมันดิบที่ต้องใช้น้ำมันเยอะมาก ล้วนแต่นำเข้ามากถึง 85% ต่อวันและทำการผลิตเองภายในประเทศเพียงแค่ 15% ถือว่าประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าอย่างมาก
- ในด้านของไฟฟ้าจะอ้างอิงการผลิตจากก๊าซธรรมชาติ


- ในหมวดพลังงานของเว็บไซต์ Worldometors แสดงถึงข้อมูลการใช้พลังงานที่เยอะมาก ในปัจจุบันเราเหลือน้ำมันบนโลกประมาณ 143,4216,028,656 ล้านถังหรือเวลาในการใช้เพียงแค่ 41 ปีเท่านั้น ซึ่งข้อมูลนี้ถูกพิสูจน์จาก World Proved Reserves of Oil and Natural Gas
- จากข้อมูลกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประเทศไทยอาจมีน้ำมันเหลือใช้ไม่ถึง 41 ปีซึ่งมีน้ำมันดิบ 440 ล้านบาร์เรล ซึ่งเหลือน้อยที่สุด ไม่สามารถลงทุนในภาคของอุตสาหกรรมได้ ถ้าไม่มีการนำเข้าเลย จะมีน้ำมันใช้ภายในประเทศประมาณ 3.51 ปี (จากข้อมูล 5 ปีที่แล้ว)
- อันดับที่ 1 ของโลกที่มีพลังงานก๊าซธรรมชาติมากที่สุด คือ ประเทศรัสเซีย เป็นต้นเหตุที่ทำให้วิกฤติสงครามยูเครน-รัสเซียเป็นเรื่องที่น่ากังวล เพราะรัสเซียเป็นประเทศที่มีพลังงานก๊าซธรรมชาติเยอะมากที่สุด
- ปัจจุบันจำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับน้ำจืดอย่างมาก กลุ่มประเทศที่เก่งเรื่องนี้มาก คือ ประเทศสิงค์โปร์
Q&A
Q: ในฐานะที่ท่านได้เป็นผู้ชี้แจ้งให้กับผู้บริหารต่าง ๆ ได้มีโอกาสขอให้ผู้บริหารประเทศแชร์เรื่องราวต่าง ๆ ให้กับประชาชนได้หรือไม่
- ในอดีตเคยครับ หลังยุคคสช.ยุคแรกยังมีการแชร์อยู่และในปัจจุบันก็ยินดีที่จะแชร์ข้อมูล
Q: references Global Megatrends ที่ท่านนำมาแชร์ข้อมูลในวันนี้ มีเทคนิคการนำเสนอมูลอย่างไร ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ สามารถให้คนกลุ่มใหญ่เรียนรู้ได้มากกว่านี้ได้อย่างไร
- ต้องเปรียบเทียบกับหลาย ๆ ข้อมูลทั้งข้อมูลจากต่างประเทศและข้อมูลภายในประเทศ ในด้านของการที่จะทำให้ผู้คนสามารถเรียนรู้ได้มากกว่านี้ ในมุมมองของผมอยากให้คนไทยจัดตั้งกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ scenarios โดยเฉพาะ
Q: ในอนาคตวิกฤติของเรื่องไฟฟ้าเป็นอย่างไร
- จะมีการทดแทนพลังงานน้ำมันที่มีพลังงานอื่นมาทดแทนได้ ไฟฟ้าจะมีแหล่งอื่นในการผลิตไฟฟ้าได้
Q: อนาคตไทยยังพอรับได้กับปริมาณของพลังงานไหม
- ยังพอรับได้ไหว แต่พยายามหาพลังงานทดแทนอยู่
Q: ในเรื่องของหน่วยงานที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาใหม่ ต้องมีรูปร่างหรือลักษณะแบบใดถึงจะเหมาะสม
- สามารถสร้างหน่วยงานได้เลย หากมีการรวมกลุ่มกันและช่วยกันคิด ไม่จำเป็นต้องมีตึกในการรวมกลุ่ม เพียงแค่มีหัวคิดและช่วยกันคิด วิเคราะห์ร่วมกัน

Q: มีความกังวลเกี่ยวกับองค์กรที่มีความเก่าแก่ หากมีเทคโนโลยีเข้ามาใช้จะส่งผลทำให้เกิดผลกระทบทำให้ลดแรงงานคนลงไป จะทำอย่างไรให้เกิดความเหมาะสมระหว่างกัน
- ข้อเสนอคำว่า cobot ที่เป็นเทคโนโลยีโดยทั้งมนุษย์และหุ่นยนต์ทำงานร่วมกัน
Q: Global Megatrends ด้านบรรจุภัณฑ์ในอนาคตเป็นอย่างไร
- จะต้องเป็นบรรจุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ biodegradable peanut foam

Bio Economy หรือเศรษฐกิจชีวภาพ
อนาคตไทยจำเป็นต้องมีความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ซึ่งมีรายละเอียดของส่วนประกอบดังนี้
1. วัสดุและพลังงาน
2. สุขภาพการแพทย์
3. เกษตรอาหาร
4. การท่องเที่ยว
ประเทศไทยมีอะไรบ้าง
- ฐานทรัพยากรที่น่าสนใจสำหรับเกษตรและอาหาร ซึ่งผลผลิตจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีคุณภาพ
- ในด้านเทคโนโลยีชีวภาพ การใช้กระบวนการต่าง ๆ จะเกิดขึ้น
- ในด้านของสุขภาพและการแพทย์มีความแม่นยำ มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่าง ๆ เกิดขึ้น
- การท่องเที่ยวจะเน้นในเชิงความรู้ มีการอนุรักษ์และมีตลาดท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น
การท่องเที่ยว
ในการจัดลำดับการท่องเที่ยวสามารถวัดได้ดังนี้
- ความปลอดภัย
- การเกิดกว้างด้านการท่องเที่ยว
- มีศูนย์การบริการหรือไม่
- มีทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรวัฒนธรรมหรือไม่
- ความสามารถที่ทำให้เกิดความยั่งยืน
• สิ่งแวดล้อม
• สังคมและวัฒนธรรม
*ลำดับที่ 1 คือ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 36 ของโลกด้านการท่องเที่ยวและการเดินทาง
- ในการสร้างนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 44 ของโลก ประเทศไทยยังตามหลังประเทศสิงค์โปร์และเกาหลีใต้อยู่
- เทคโนโลยีที่น่าสนใจมากที่สุดคือ Free and Open source
- ในปัจจุบันจีนกำลังวางแพลนในการพัฒนาให้เป็นผู้นำโลกในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) เครื่องจักรกลด้านการเกษตร
2) การบิน
3) ความรวดเร็วต่าง ๆ เช่น รถไฟความแรงสูง เป็นต้น
4) เป็นฐานผลิตไฟฟ้า
5) พัฒนาเทคโนโลยีให้ดีขึ้นอีก
วิธีการใช้ Big Data ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- วิเคราะห์ว่าเกิดอะไรขึ้น
- วิเคราะห์ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
- วิเคราะห์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นอีกในอนาคต
- วิเคราะห์และแนะนำว่าควรจะทำอะไร
- วิเคราะห์และตัดสินใจให้ว่าควรทำอะไร ทำอย่างไรและมีผลอย่างไร

หากท่านต้องการเรียนรู้ทุกองค์ประกอบของ Transformation พัฒนาทักษะด้านการบริหารองค์กรในยุคดิจิทัลให้แข็งแกร่งมากขึ้น หลักสูตร TEN X ของเรา พร้อมที่จะช่วยให้ท่านปรับเปลี่ยนองค์กรให้เติบโตแบบก้าวกระโดด
สนใจดูรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม คลิก: TEN X.UTCC หรือ TEN X
สนใจสอบถามรายละเอียด ติดต่อได้เลยที่
Facebook: DeOne Academy หรือ TEN X
คุณศุภเสริฐ(กอฟ) โทร: 098-424-5241