5 เทคนิคในการทำงานกับ Micromanager

Micromanager คือหัวหน้างานที่ต้องการมีส่วนร่วมในงานที่มอบหมายให้ลูกน้องทุกขั้นตอน หรือนำงานมาทำใหม่เพราะต้องการให้งานออกมาดีเท่าที่ตนต้องการ  การมีหัวหน้างานที่บริหารจัดการทุกอย่างแบบนี้ ส่งผลกระทบต่อชีวิตการทำงานของลูกน้อง ไม่ว่าจะเป็นขวัญและกำลังใจของลูกน้องตกต่ำ ลูกน้องเกิดความไม่มั่นใจ ลูกน้องไม่กล้าแสดงความคิดสร้างสรรค์หรือรู้สึกขาดอิสรภาพทางความคิดและการกระทำ มันเกิดจากหัวหน้าจะพยายามควบคุมงานทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเล็กแค่ไหน ซึ่งอาจส่งผลเสียประสิทธิภาพการทำงานไปด้วย

Micromanager มีลักษณะอย่างไร

  • ไม่ค่อยได้มอบหมายงาน รู้สึกว่าถ้าต้องการให้งานออกมาดี หัวหน้าต้องทำเอง
  • กำหนดเวลาส่งงานก่อนเวลาที่ควรจะเป็น
  • ขอให้ลูกน้อง update เรื่องงานบ่อยครั้งและคาดหวังให้ทำรายงานที่มีรายละเอียดมากเกินไป
  • เน้นรายละเอียดที่ไม่สำคัญกับภาพรวม
  • ต้องการให้สำเนาทุก e-mail หรือข้อความ chat ให้กับเขา
  • หงุดหงิดเมื่อลูกน้องตัดสินใจโดยที่เขายังไม่ได้ออกความเห็น
  • ติดตามการทำงานของลูกน้องอย่างใกล้ชิดและเอางานของลูกน้องมาทำใหม่อีกครั้ง
micromanager
micromanager

ทำไมถึงเป็นเช่นนี้

ผู้จัดการหลายคนเป็นเช่นนี้เพราะสาเหตุมาจากความกลัว เช่น กลัวจัดการงานได้ไม่ดี กลัวว่าจะควบคุม project ไม่ได้ กลัวว่าลูกน้องจะทำงานไม่ดี กลัวภาพลักษณ์ตัวเองไม่ดี กลัวความไม่มั่นคงในงาน เป็นต้น

แล้วเราจะทำงานกับ Micromanager อย่างไร

Leah Lambart ได้เสนอเทคนิค 5 ประการในการทำงานร่วมกับคนเหล่านี้ ได้แก่

1. ทำความเข้าใจกับ Trigger

สิ่งแรกที่ลูกน้องควรทำคือพยายามทำความเข้าใจว่าทำไมหัวหน้าถึงจัดการพวกเขาแบบนี้ หัวหน้าอาจจะขาดความมั่นใจ มีความเครียด หรือเคยมีลูกน้องที่ทำงานไม่ดี

2. ทำให้หัวหน้ารู้สึกเชื่อถือและไว้วางใจ

ความเชื่อถือและไว้วางใจเป็นกุญแจสำคัญในความสัมพันธ์ที่ดี สาเหตุใหญ่ที่ทำให้หัวหน้ามักเป็นเช่นนี้เพราะเขาไม่ไว้วางใจลูกน้อง เพราะฉะนั้นลูกน้องก็ต้องแสดงให้เห็นว่าเขาสามารถทำงานได้อย่างมีคุณภาพ ส่งมอบงานได้ตรงเวลา และหมั่นแจ้งความคืบหน้าของงานอยู่เสมอ

3. สนทนากับหัวหน้าถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

บ่อยครั้งที่หัวหน้าไม่ทราบด้วยซ้ำว่าพฤติกรรมของเขาส่งผลกระทบต่อลูกน้องอย่างไร ลูกน้องควรอธิบายอย่างสุภาพให้หัวหน้าทราบว่าลูกน้องรู้สึกอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

4. สอบถามเรื่องขอบเขตและความคาดหวังของงาน

ลูกน้องควรสอบถามหัวหน้าเรื่องหน้าที่ บทบาท ความรับผิดชอบและความคาดหวังที่หัวหน้ามีต่องานของลูกน้อง เพื่อให้มีความเข้าใจที่ชัดเจนต่อกัน

5. เปิดช่องทางการสื่อสารไว้เสมอ

ลูกน้องควร update ความคืบหน้าหรือรายงานก่อนที่หัวหน้าจะถาม และควรเปิดช่องทางการสื่อสารไว้เป็นประจำ เพื่อให้หัวหน้าสามารถติดต่อลูกน้องได้ง่าย

อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ในที่ทำงานก็เหมือนกับความสัมพันธ์ส่วนตัว ที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายในระยะเวลาข้ามคืนได้ ลูกน้องก็ต้องพยายามหมั่นทำความเข้าใจในตัวหัวหน้า พิสูจน์ความสามารถของตนเองให้เขาไว้วางใจและสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาและสม่ำเสมอ สุดท้ายผลที่ได้ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวลูกน้องเอง

micromanager

การบริการโค้ชผู้บริหาร (Executive Coaching) ของ DeOne Academy จะช่วยให้คุณได้รับการโค้ชจากโค้ชที่ได้รับการรับรองจาก International Coaching Federation (ICF) ในระดับ Professional Certified Coach – PCC (มีประสบการณ์โค้ชมากกว่า 500 ชั่วโมง) และ Associate Certified Coach – ACC (มีประสบการณ์โค้ชมากกว่า 100 ชั่วโมง) ช่วยให้ผู้บริหารสามารถดึงศักยภาพสูงสุดของตนเองออกมาใช้ นำไปสู่การพัฒนา เปลี่ยนแปลง mindset และพฤติกรรมซึ่งจะเกิดประโยชน์ทั้งต่อผู้รับการโค้ช (ผู้บริหาร) หน่วยงาน และองค์กรต่อไป


สนใจดูรายละเอียดโปรแกรมเพิ่มเติม คลิก: Executive Coaching

สนใจสอบถามรายละเอียด ติดต่อได้เลยที่
Facebook:  DeOne Academy
คุณศุภเสริฐ(กอฟ) โทร: 098-424-5241

แชร์โพสต์นี้